วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทความ3. ยกตัวอย่าง"การพัฒนาระบบสารสนเทศ"

วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC)

          วงจรการพัฒนาระบบ คือ กระบวนการทางความคิด ( Logical Process)ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ โดยภายในวงจรนั้นแบ่งกระบวนการพัฒนาออกเป็นระยะ ( Phase ) ได้แก่ ระยะการวางแผน ( Planning Phase) ระยะการวิเคราะห์      ( Analysis Phase) ระยะการออกแบบ ( Design Phase) และระยะการสร้างและพัฒนา ( Implementation Phase )โดยแต่ละระยะจะประกอบไปด้วยขั้นตอน ( Steps ) ต่าง ๆ ซึ่งแต่ละโครงการพัฒนาระบบจะมีการแบ่งระยะและขั้นตอนในแต่ละระยะแตกต่างกัน ทำให้ปัจจุบันมีรูปแบบของวงจรการพัฒนาระบบแตกแขนงออกไปมากในที่นี้ขอยกตัวอย่างของวงจรการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

1. SDLC ในรูปแบบ Waterfall
2. SDLC ในรูปแบบ Adapted Waterfall
3. SDLC ในรูปแบบ Evolutionary
4. SDLC ในรูปแบบ Incremental
5. SDLCในรูปแบบ Spiral


SDLC ในรูปแบบ Waterfall


          SDLC แบบ Waterfall มีหลักการเปรียบเสมือนกับน้ำตก ซึ้งไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ และไม่สามารถไหลกลับมาในทางตรงกันข้ามได้อีก การพัฒนาระบบงานด้วยหลักการนี้ เมื่อทำขั้นตอนหนึ่งแล้วจะไม่สามารถย้อนกลับมาที่ขั้นตอนก่อนหน้าได้อีก ซึ่งจะมองเห็นจุดอ่อนของ
หลักการนี้ว่า หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นที่ขั้นตอนก่อนหน้านี้แล้ว จะไม่สามารถย้อนกลับมาแก้ไขได้ ดังนั้น การพัฒนาระบบด้วยหลักการนี้ จำเป็นต้องมีการวางแผนที่ดี เพื่อให้สามารถป้องกันการผิดพลาดได้มากที่สุด ซึ่งทำได้ยากมาก ยกเว้นระบบงานนั้นมีรูปแบบการพัฒนา
ที่ดี และตายตัวอยู่แล้ว


SDLC ในรูปแบบ Adapted Waterfall


          SDLC แบบ Adapted Wayerfall เป็นรูปแบบในการพัฒนาระบบงานที่ปรับปรุงมาจากแบบ waterfall โดยในแต่ละขั้นตอนเมื่อ
ดำเนินงานอยู่ สามารถย้อนกลับมายังขั้นตอนก่อนหน้าเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือสามารถย้อนกลับข้ามขั้น โดยไม่จำเป็นต้องเป็น
ขั้นตอนที่ติดกันได้


SDLC ในรูปแบบ Evolutionary



          SDLC แบบ Evolutionary มีแนวความคิดที่เกิดมาจากทฤษฎีวิวัฒนาการ โดยจะพัฒนาระบบงานจนเสร็จสิ้นไน Version แรกก่อน
          จากนั้นจึงพิจารณา Product ( Product ในที่นี้หมายถึง ระบบ) ใน Version แรก ที่ได้พัฒนาผ่านมาถึงจ้อดีและข้อเสียแล้ว จึงเริ่มกระบวนการพัฒนาระบบงานใหม่จนได้ Product ใน Version ที่ 2 และ Version ต่อไปจนกว่าจะได้ Product ที่สมบูรณ์ที่สุดซึ่งต้องการวางแผนกำหนดจำนวน Version ตั้งแต่เริ่มโครงการพัฒนา
          Product มีข้อสังเกตว่าการพัฒนา Product ใน Version ต่าง ๆ นั้น ไม่มีความสัมพันธ์กับ Product ใน Version แรกแต่อย่างใด


SDLC ในรูปแบบ Increment



           SDLC แบบ Incremental มีลักษณะคล้ายคลึงกับแบบ Evolutionary แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ ตัว Product เนื่องจาก Product ที่เกิดขึ้นในการพัฒนาครั้งแรกนั้นจะยังไม่ไช่ Product ที่สมบูรณ์ แต่เป็น Product ส่วนแรกเท่านั้น ( จากตัว Product ทั้งหมด ) จนเมื่อมีการพัฒนาในขั้นตอนที่ 2 จึงได้ Product ในส่วนที่ 2 เพิ่มเติมเข้าไป และจะมีการเพิ่มส่วนอื่น ๆ เข้าไปอีก จนกลายเป็น Product ที่สมบูรณ์ที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถแน่ใจได้ว่า Product ที่ได้จากการรวมกันของ Product นั้นจะเป็น Product ที่สมบูรณ์ ดังนั้นในบางครั้ง SDLC ในรูปแบบ Evolutionary อาจจะมีบทบาทในการทำให้ Product ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้การพัฒนาในรูปแบบอื่น ๆ ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นจนได้ Version ใหม่ที่สมบูรณ์ในที่สุด


SDLC ในรูปแบบ Spiral



          SDLC แบบ Spiral มีลักษณะเป็นวงจรวิเคราะห์ - ออกแบบ – พัฒนา – ทดสอบ (Analysis – Design – Implementation – Testing ) และจะวนกลับมาในแนวทางเดิม เช่นนี้เรื่อยไป จนกระทั่งได้ Product ที่สมบูรณ์ การพัฒนาระบบงานด้วย SDLC ในรูปแบบนี้มีความยืดหยุ่นมากที่สุด เนื่องจากการทำงานใน 1 วงรอบนั้น ไม่จำเป็นต้องได้ Product หรือส่วนของ Product ที่แน่นอน และการทำ Analysis, Design, Implementation และ Testing ในแต่ละวงรอบนั้นจะสั้นหรือยาวเท่าใดก็ได้และถ้าหากไม่มีความจำเป็นใด ๆ บางขั้นตอนอาจจะถูกข้ามไปก็ได้เมื่อมีกระบวนการทางความคิดในการพัฒนาระบบแล้ว จะต้องมีวิธีการหรือแนวทางที่จะนำกระบวนการนั้นลงมาลงมือปฏิบัติเพื่อการพัฒนาระบบนั้นเป็นผลสำเร็จจนกลาย
เป็นระบบที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีดังกล่าวเรียกว่า “Methodology “

http://reg.ksu.ac.th/teacher/lawan/Lesson3.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น