วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทความ9. คำศัพท์และความหมาย ที่เกี่ยวข้อง "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ" (20 คำศัพท์)

1. Strategic Information System : SIS = ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
2. Decision Support System : DSS = ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
3. Executive Information System : EIS  =ระบบสารสนเทศผู้บริหาร
4.  Transaction Processing System :TPS  = ระบบประมวลผลรายการ
5.  Management Reporting System :MRS =  ระบบจัดการรายงาน
6. Office Information System :OIS = ระบบสารสนเทศสำนักงาน 
7.  Expert system  = ระบบ ผู้เชี่ยวชาญ
8.  Artificial intelligence = ระบบอัจฉริยะ 
9.  Emergence of the Global Economy = การรวมตัวของระบบเศรษฐกิจโลก
10. Transformation of Industrial Economies  = การปรับรูปของระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 
11.  operation  = การปฏิบัติงาน
12 . management =  การจัดการ
13. decision making  = การตัดสินใจ 
14.  Management Information Systems : MIS = ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
15. Schedules Reports = รายงานตามตารางเวลา
16. Key Indicator Reports =  รายงานแสดงส่วนประกอบสำคัญ
17. Demand Reports = รายงานตามคำขอ
18. Exception Reports = รายงานกรณียกเว้น
19. Drill Down Report = รายงานแบบเจาะลึกรายละเอียด
20. Enterprise Resource Planning : ERP = การวางแผนทรัพยากรขององค์กร

http://www.hu.ac.th/academic/article/IT/chairut.htm
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5128155/
http://www.learners.in.th/blogs/posts/528781
http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/

บทความ8. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems)

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems-EIS, Executive Support Systems -ESS)

เป็นระบบสารสนเทศประเภทหนึ่งของ DSS ที่สนับสนุนการทำงานของผู้บริหารระดับโดยเฉพาะเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์การหรือเรื่องทิศทางการดำเนินงานขององค์การ โดยทำการเข้าถึงสารสนเทศและรายงานต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว EIS มีการออกแบบที่ง่ายต่อการใช้ (user friendly) โดยมีการใช้รูปกราฟฟิคในการออกแบบหน้าจอ

หน้าที่ของ EIS
1) ช่วยในการวางแผนกลยุทธ์ โดยประเมินและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและนำสารสนเทศที่ถูกต้องเป็นปัจจุบันมีความรวดเร็วและช่วยในการพิจารณาสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งทดสอบว่ากลยุทธ์ที่กำหนด ได้ผลหรือไม่ (Stair & Reynolds, 1999)

2) ช่วยในการควบคุมเชิงกลยุทธ์ (Strategic control) ซึ่งเกี่ยวกับการติดตาม และการจัดการการปฏิบัติขององค์การโดยการสร้างกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิผลโดยการระบุปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัญหา โอกาส หรือการเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะช่วยให้กระบวนการทำงานลื่นไหลไปได้ด้วยดี (Stair & Reynolds, 1999)

3) การสร้างเครือข่าย (Networks) เครือข่ายในที่นี้ หมายถึงบุคคลต่างๆ ทำงานร่วมกันในการบรรลุจุดมุ่งหมาย เครือข่ายนี้จะช่วยทำให้สารสนเทศที่เกี่ยวกับความคิดเห็นข้อสังเกต ข้อมูลหรือการเตือนภัยล่วงหน้าไหลติดต่อระหว่างสมาชิกในเครือข่าย

4) ช่วยในการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ระบบยังสามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคู่แข่งทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศรวมทั้งสามารถในการจัดหาสินค้าของซัพพลายเออร์

5) ช่วยในการจัดการกับวิกฤต (Crisis management) แม้ว่าหน่วยงานจะมีการวางแผนกลยุทธ์ดีเพียงไร แต่บางครั้งวิกฤตที่ไม่คาดคิดอาจเกิดขึ้นได้ การจัดการวิกฤตเป็นหน้าที่ของผู้บริหารโดยตรง (Stair & Reynolds, 1999)

ความสามารถทั่วไปของ EIS
1) การเข้าถึงดาต้าแวร์เฮาต์ (Data Warehouse) ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ ประกอบด้วยฐานข้อมูลจากงานในระดับปฏิบัติการ เช่น วัสดุคงคลัง และฐานข้อมูลภายนอก เช่น ลักษณะของประชากร

2) การใช้ความสามารถในการเจาะข้อมูล (Drill down) กล่าวคือ EIS จะประกอบด้วยการสรุปสารสนเทศเพื่อให้ผู้บริหารสามารถเจาลึกเพื่อกาสารสนเทศในรายละเอียดอีกครั้ง ดังนั้นการเจาะข้อมูลหมายถึง ความสามารถในการให้รายละเอียดของสารสนเทศ เช่น หากผู้บริหารสังเกตเห็นการลดลงของยอดขายในรายงานประจำสัปดาห์ผู้บริหารอาจต้องดูรายละเอียดของยอดขายในแต่ละภาคเพื่อต้องการหาเหตุผล ถ้าข้อมูลแสดงว่าภาคใดภาคหนึ่ง มีปัญหา ผู้บริหารอาจจะเจาะลงในรายละเอียดของการขายสินค้าแต่ละผลิตภัณฑ์ หรือยอดขายของพนักงานขายแต่ละคนก็ได้ การเจาะลึกของข้อมูลอาจทำได้ต่อเนื่องกันหลายระดับของข้อมูล การเจาะลึกดังกล่าวผู้บริหารสามารถทำไดเองโดยไม่จำเป็นองปรึกษากับโปรแกรมเมอร์แต่อย่างใด

3) การนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่มีความยืดหยุ่น ระบบ EIS จะมีการรายงานซึ่งมีความยืดหยุ่นกว่าระบบ MRS มาก กล่าวคือ ระบบ MRS จะมีการกำหนดสารสนเทศไว้ล่วงหน้า แต่ EIS จะเริ่มจากสิ่งที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า และยังมีรูปแบบรายงานต่างๆ ให้ผู้บริหารได้เลือกอีก (แนวคิดเดียวกับแบบ drill down) ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารสามารถ ได้ทราบสารสนเทศในเชิงลึกมากขึ้น และบางครั้งถึงกับออกแบบในลักษณะกราฟฟิคเอาไว้ด้วย ลักษณะการนำเสนอในแบบนี้เป็นข้อแตกต่างของ MRS และ EIS

4) การเข้าถึงสารสนเทศที่หลากหลาย ระบบ EIS ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึง สารสนเทศได้ทุกประเภท ทั้งสารสนเทศจากภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์การด้วย

5) การใช้โมเดลในการวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend analysis) การวิเคราะห์ข้อมูลอาจจำเป็นต้องทราบแนวโน้มในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในข้อมูล การวิเคราะห์แนวโน้มจะทำได้โดยใช้โมเดลการพยากรณ์ การวิเคราะห์แนวโน้ม เช่น ยอดขายจะมีการเพิ่มขึ้นหรือไม่ ส่วนแบ่งการตลาดจะลดลงหรือไม่

http://elearning.northcm.ac.th/mis/content.asp?ContentID=74&LessonID=10


บทความ7. ประเภทของการตัดสินใจในระบบสารสนเทศ

ประเภทของการตัดสินใจมี 3 ประเภท คือ

1. การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure)
2. การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure)
3. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semistructure)
1.การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure)
     เมื่อมีการกำหนดโปรแกรมการตัดสินใจ องค์กรจะต้องเตรียมกฎเกณฑ์การตัดสินใจไว้ โดยแสดงขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งอาจเป็นการตัดสินใจ (flow chart) ตารางการตัดสินใจหรือสูตรต่างๆ ขั้นตอนการตัดสินใจต้องระบุถึงสารสนเทศที่ต้องการ ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับกฎเกณฑ์การตัดสินใจแบบมีโครงสร้างนั้น จำเป็นต้องมีระบบสารสนเทศอย่างเด่นชัดและมีการนำข้อมูลเข้าที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างแน่นอน มีขั้นตอนการตรวจสอบจนเป็นที่แน่ใจได้ว่าถูกต้อง ทั้งความสมบูรณ์ของ การนำข้อมูลเข้าและการประมวลผล โดยใช้หลักการตัดสินใจทางตรรก (logic) และผลลัพธ์ที่ได้จากการตัดสินใจแบบนี้ จะอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน คือ จะต้องเด่นชัดในแง่ที่ว่า จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรและควรมีข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะช่วยให้ผู้รับสามารถนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจ จากหลายๆ กรณีที่ไม่อาจจะกำหนดขั้นตอนหรือกฎเกณฑ์การตัดสินใจเพื่อประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ธรรมดาทั่วๆ ไป ให้ได้มากที่สุดสำหรับสถานการณ์ที่แตกต่างออกไป และไม่สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ได้ เราจะใช้คนเป็นผู้ตัดสินใจ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน
2.การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure)
     การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง ย่อมไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจไว้ก่อนล่วงหน้า อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่บ่อยครั้ง ทำให้องค์กรต้องเสียค่าใช้จ่ายใน การเตรียมขั้นตอน การตัดสินใจหรือความไม่เข้าใจวิธีการประมวลดีพอหรือมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง จนไม่สามารถจะกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจที่เป็นถาวรได้ สิ่งสนับสนุนการตัดสินใจโครงสร้างแบบนี้ ได้แก่ การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และขั้นตอนการตัดสินใจที่จะประยุกต์เพื่อหาคำตอบจากปัญหา ข้อมูลที่ต้องการอาจจะจัดหามาก่อนล่วงหน้า ดังนั้นการดึงข้อมูลอาจเกิดตามการร้องขอระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างจะใช้วิธีการถาม – ตอบและการวิเคราะห์
3.การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semistructure
     เป็นการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าหรือคาดการณ์ได้ยากคุณลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
1) จัดเตรียมสารสนเทศซึ่งได้ทำการประมวลผลแล้วจากการประมวลผลข้อมูล เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
2) สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างหรือแบบกึ่งโครงสร้าง
3) สนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้
4) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงระบบสารสนเทศที่มีพื้นฐานการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ผู้บริการระดับสูงสามารถเข้าถึง รวบรวม วิเคราะห์ และการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตามความต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็วคุณลักษณะของระบบเพื่อผู้บริหารระดับสูงเป็นระบบซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้บริหารระดับสูง
5) ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบที่ทำหน้าที่เสมือนผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารระดับสูง เนื่องจากบางครั้งต้องตัดสินปัญหาที่มีความซับซ้อนเกินกว่าจะตัดสินใจตามลำพังได้ ดังนั้นผู้ให้บริการอาจใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คำแนะนำ หรือให้คำปรึกษา ค้นหาช่องทาง และโอกาส เพื่อจัดการกับปัญหาที่เผชิญอยู่



บทความ6. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support Systems)

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)

        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน หรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ซึ่งระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน ต้นทุนที่ต่ำลงและยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ความพยายามในการใช้ระบบนี้เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป ยังกลุ่มและองค์การต่างๆ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คืออะไร
DSS เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ดังนั้นระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ จึงประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ (Model) และทรัพยากรอื่นๆ ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ในการประเมินผลและแก้ไขปัญหา ดังนั้นหลักการของ DSS จึงเป็นการให้เครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น DSS จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความต้องการของข้อมูลเท่านั้น

http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/107/

บทความ5. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(MIS)

MIS  (Management  Information  System)

MIS คืออะไร
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
         
แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงาน ที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้ม และภาพรวม ขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงาน จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารสนเทศ และจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา (เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวะการณ์หรือเหตุผิดปกติ

การนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้
1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัตและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฎิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน
4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล
            ระบบสารสนเทศเป็นระบบรวมทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมในลักษณะระบบเดียวเนื่องจากขนาดข้อมูลมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมาก ทำให้การบริหารข้อมูลทำได้อยาก การนำไปใช้ไม่สะดวก จึงจำเป็นต้องแบ่งระบบสารสนเทศออกเป็นระบบย่อย 4 ส่วนได้แก่
             ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System :TPS)
             ระบบจัดการรายงาน (Management Reporting System :MRS)
             ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS)
             ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System :OIS)
ลักษณะของระบบเอ็มไอเอสที่ดี
ระบบเอ็มไอเอส จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
ระบบเอ็มไอเอส จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร
ระบบเอ็มไอเอส จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ ระบบเอ็มไอเอส จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
ระบบเอ็มไอเอส ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

MIS ที่ดีควรมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้ 
          1. MIS ถูกนำไปใช้การตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเรียกค้นข้อมูลได้รวดเร็ว แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับปัญหาแบบมีโครงสร้าง (Structured Problems) เน้นการแก้ปัญหาที่เกิดกับงานประจำ
          2. MIS เป็นระบบงาน ซึ่งผสมผสานข้อมูลจากหลาย ๆ แหลางหรือระบบย่อยหลาย ๆ ระบบที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อจัดทำสารสนเทศเป็นภาพรวมที่สมบูรณ์ของทั้งระบบ
          3. การพัฒนาระบบสารสนเทศ จะเริ่มจากความต้องการและความเห็นชอบของผู้บริหารเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศให้แก่ผู้บริหารช่วยในการตัดสินใจและบรรลุจุดมุ่งหมายโดยรวมองค์กร
          4. MIS จะใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย เนื่องจากข้อมูลในองค์กรหนึ่ง ๆ มีเป็นจำนวนมากและมีความสลับซับซ้อน คอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาใช้เพื่อสร้าง MIS ให้แก่ผู้บริหาร ใช้ในการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและเหมาะสม
          5. สารสนเทศนั้นจะถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับพนักงานเครื่องจักร เงินทุนและวัตถุดิบ จุดมุ่งหมายของ MIS คือจัดทำสารสนเทศที่เป็นประโยชน์แก่องค์กรเพื่อใช้ควบคุม การทำงานและการจัดการขององค์กร
          6. ทำการจัดเก็บข้อมูลสร้างเป็นฐานข้อมูลเก็บไว้ ซึ่งฐานข้อมูลนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว วัตถุประสงค์คือต้องการจะหลีกเลี่ยงความซับซ้อนของการเก็บข้อมูล
          7. การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ MIS จะไม่ประสบความสำเร็จถ้าปราศจากจากความร่วมมือและความพอใจของผู้ใช้งานถึงแม้ว่ามีระบบที่ดีเพียงใดก็ตามถ้าผู้ใช้งานเกิดความรู้สึกต่อต้านและคดว่า MIS จะมาแย่งงานของตนไป

ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศในองค์กร
ระบบสารสนเทศได้ถูกพัฒนาขึ้นในรูปแบบเพื่อสนองความต้องการสารสนเทศมีในการบริหารงานระดับต่าง ๆ ดังนี้
1. ระบบประมวลผลรายการ (TPS : Transaction Processing Systems) บางครั้งเรียกว่า ระบบประมวลผลข้อมูล (DP : Data Processing Systems) ซึ่งเป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เป็นการประมวลข้อมูลที่เป็นการดำเนินงานประจำวันภายในองค์ การประมวลข้อมูลในยุคก่อนที่จะมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้นั้น จะเป็นการประมวลผลที่กระทำด้วยมือหรือใช้เครื่องคำนวณช่วย ต่อมามีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผลโดยเฉพาะในระบบธุรกิจเพื่อช่วยงานประจำ เช่น การสั่งซื้อสินค้า การจัดระบบสินค้าคงคลัง การทำบัญชีต่าง ๆ การทำใบเสร็จรับเงิน การทำใบแจ้งหนี้ ใบสั่งสินค้า รายการซื้อ รายการขาย ในการทำการประมวลผลรายการก็จะมีการจัดทำเอกสารรายงานต่าง ๆ เป็นประจำ แต่ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบสารสนเทศได้เต็มที่เพราะเอกสารส่วนมากถูกนำไปใช้เกี่ยวกับงานประจำวัน เช่น การบันทึกรายการบัญชี การบันทึกยอดขายประจำวัน การออกใบแจ้งหนี้ เป็นการบันทึกรายการตาง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะซ้ำ ๆ ทุกวัน มากกว่าจะใช้เพื่อการบริหาร หรือการจัดการ เพราะรายงานประจำวันนั้น ไม่ระบุสารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการทราบ เช่น ผู้บริหารต้องการทราบว่า ลูกค้าประเภทไหนชอบสินค้าชนิดใด สินค้าใดจะมีแนวโน้มที่จะขายดีมากขึ้นหรือลดลง สินค้าประเภทใดที่เป็นที่นิยมในภาคไหนTPS เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการทำหน้าที่ผลิตสารสนเทศ แล้วส่งไปยังระดับต่อไปตัวอย่างข้อมูลที่เข้ามาในระบบประมวลผลรายการ ได้แก่ ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า ข้อมูลการขายสินค้า ระบบการจองโรงแรมห้องพัก ระบบการจองตั๋วเครื่องบิน ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลพนักงานลูกจ้าง หรือข้อมูลการส่งสินค้า โดยจะนำข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้เข้ามาเพื่อ ทำการประมวลผลโดยถือว่าระดับ ประมวลผลรายการเป็นระดับล่างสุดซึ่งในระดับนี้จำเป็นต้องมีการจัดการทำงานให้เป็นแบบแผนที่แน่นอนตายตัว เป็นระบบที่เก็บข้อมูลธรรมดา เพื่อนำไปใช้งานในภายหลัง เช่น วันนี้มียอดขายเท่าใด
รายรับรายจ่ายเท่าใด มีเงินหมุนเวียนในระบบเท่าใดหรือในคลังสินค้า สินค้าที่นำออกไปมีปริมาณมากน้อยแค่ไหน ปัจจุบันระบบประมวลรายการมักนิยมใช้กับการประมวลผลแบบออนไลน์ (On - line Processing) นั่นคือข้อมูลต่าง ๆ จะถูกประมวลผลทันทีที่เข้าสู่ระบบ มักนิยมใช้กับงานธุรกิจประจำวัน สรุปคือเป็นกิจกรรมในแต่ละวันนั่นเองโดยระบบประมวลผลรายการเป็น ตัวเชื่อมระหว่างองค์กรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นตัวหลักที่เก็บข้อมูลไว้ก่อนที่จะส่งไปยังระดับอื่น ๆ ถ้าระบบนี้ทำงานได้ไม่ดีหรือมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น จะทำให้ข้อมูลขาดประสิทธิภาพ ก็จะเกิดผลกระทบทั้งองค์กร งานที่ได้อาจขาดความสมบูรณ์หรือเกิดความเสียหายได้ทั้งองค์กรเพราะทำให้ขาดความต่อเนื่องของงานหรือได้รับข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง งานในระดับอื่น ๆ ก็ผิดพลาดตามไปด้วย สาเหตุหนึ่งของความผิดพลาด อาจเกิดมาจากข้อมูลที่รับเข้ามาไม่สมบูรณ์เพียงพอ หรือสาเหตุเกิดจากภายในระบบประมวลผลรายการเองซึ่งถือได้ว่า ระบบประมวลผลรายการมีความสำคัญสูงสุดสำหรับองค์กรTPS มักจะทำการประมวลผลข้อมูลกับงานเฉพาะส่วนขององค์กร เช่น ฝ่ายรับสมัคร ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต เป็นต้น โดยแต่ละฝ่ายจะมีการรับข้อมูล จัดเก็บข้อมูลไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลและทำการประมวลผลแยกกัน ผู้ใช้ระบบ TPS ได้แก่ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลพนักงานลงบัญชี พนักงานรับสั่งจอง เป็นต้น

2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS : Management Information Systems)
เป็นระบบที่ช่วยในการเตรียมรายงานเพื่อให้ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ใช้ในการควบคุมการปฏิบัติงาน ผู้บริหารสามารถใช้สารสนเทศที่ได้จัดการกับปัญหาแบบโครงสร้าง เช่น ใช้ในการวิเคราะห์ความผิดพลาด ความก้าวหน้า หรือข้อบกพร่องในการทำงาน รายงานส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของรายงานสรุป (Summary Report) จากการปฏิบัติงานประจำ เป็นงานที่ได้รับการส่งต่อจากงาน TPS คือ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลเพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่มีอยู่ในระบบให้สามารถใช้ประโยชน์ได้เพื่อเสนอต่อผู้บริหารในระดับต่อไป คำว่า MIS บางครั้งจะใช้คำว่า IRS (Information Reporting Systems) หรือ MRS (Management Reporting Systems) แทนความแตกต่างระหว่าง ระบบสารสนเทศเพื่อ การจัดการ (MIS)
และ ระบบประมวลผลรายการ (TPS) มีหลายประการ TPS ใช้แฟ้มข้อมูลแยกกันเนื่องจากการทำงานแยกกันในแต่ละฝ่าย เช่น ทำหน้าที่ เกี่ยวกับการรับใบสั่งสินค้าจากลูกค้า ประมวลรายการสินค้า บันทึกรายการขาย ดูแลการส่งสินค้า ควบคุมคลังสินค้า และการบัญชีMIS จะใช้ฐานข้อมูลร่วมกันและมีการรวบรวมข้อมูลจากหลาย ๆ ฝ่ายทำให้ MIS มีความยืดหยุ่นในการสร้างสารสนเทศให้กับ ผู้บริหารตามความต้องการ สารสนเทศที่ได้จะเกี่ยวข้องกับการสรุปผลการดำเนินงานที่ได้จาก TPS จะมีการพิมพ์รายงานสรุปว่าสินค้าอะไรบ้างที่ขายช้าหรือขายเร็วและส่วนของคลังสินค้าก็จะรู้ว่า ต้องสั่งสินค้าอะไรเพิ่มเข้ามาใหม่ ดังนั้น MIS เป็นการสร้างสารสนเทศที่จำเป็นต่อการจัดการในงานต่าง ๆ มีการวางแผนขั้นแรกในระดับการควบคุม และตัดสินใจของผู้บริหารในงานทั่ว ๆ ไป โดยจะใช้สารสนเทศที่ได้จาก TPS บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการเชื่อมต่อระบบ MIS ก็คือผู้บริหาร ผู้บริหารจะคอยรับทราบและทำความเข้าใจถึงภาพรวมและแนวโน้มว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับบริษัท สถานะการเงินเป็นอย่างไร สภาพตลาดเป็นอย่างไรมีกำลังการผลิตมากน้อยเพียงใดรวมถึงผลกระทบหรือปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดจนโอกาสต่าง ๆ ทางธุรกิจมีแนวโน้มเป็นอย่างไร จากนั้นจึงนำสิ่งที่ได้รับจากการรายงานข้างต้นมาพิจารณาวางแผนและดำเนินการต่อไปMIS จะอยู่ในระดับกลางขององค์กร คือ เป็นระดับของการจัดการ ทั้งทางด้านการจัดการขาย การควบคุมกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ของระดับปฏิบัติงาน เช่น นำข้อมูลของวันนี้มาเปรียบเทียบกับข้อมูลของเดือนที่ผ่านมาหรือย้อนหลัง 3 เดือน แล้วนำมาสรุปในอยู่ในรูปของกราฟหรือรายงาน นอกจากนี้ผู้บริหารยังใช้สารสนเทศที่ได้จาก TPS มาวิเคราะห์กาความผิดพลาดหรือหาความก้าวหน้าในการทำงาน โดยอาจใช้ข้อมูลทางสถิติเปรียบเทียบผลที่ได้จากการปฏิบัติจริงกับค่าประมาณ ที่วางแผนไว้ แล้วจึงส่งต่อไปยังผู้บริหารระดับสูง เพื่อผู้บริหารระดับสูงจะได้นำสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในการกำหนดนโยบาย หรือวงแผนระบบงานต่อไป

3. ระบบสนับสนุนการตัดสิน (DSS : Decision Support Systems) เป็นระบบที่เป็นการทำงานแบบกึ่งโครงสร้าง มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกในการจัดรูปแบบข้อมูลการนำมาใช้และการรายงานข้อมูลเพื่อที่จะใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ ของผู้บริหารระดับต่าง ๆ (ประสงค์ ประณีตพลกรังและคณะ. 2541 ; 16) ในระดับนี้จำเป็นต้องอาศัยสารสนเทศจาก TPS และ MIS แบบสรุปมาใช้ประกอบการตัดสินใจ DSS แตกต่างจากระบบอื่น ๆ คือ เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นต่อการตัดสินใจ และมีการตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการเฉพาะของผู้บริหารแต่ละคนข้อแตกต่างระหว่าง DSS กับ MIS มีดังนี้
                MIS สามารถให้สารสนเทศได้เฉพาะสารสนเทศที่มีอยู่แล้ว ไม่สามารถจัดสารสนเทศใหม่ทันทีทันใด MIS ใช้กับปัญหาแบบมีโครงสร้าง เช่น ในระบบสินค้าคงคลังเมื่อไรจึงจะสั่งวัตถุเพิ่ม และต้องสั่งเท่าไร ซึ่งเป็นลักษณะของปัญหาที่เกิดประจำในระดับปฏิบัติการ การตัดสินในจะขึ้นอยู่กับความต้องการในการผลิต ราคาต้นทุนวัตถุดิบและตัวแปรอื่น ๆ ที่ต้องใช้ในระบบสินค้าคงคลัง
             DSS ได้ถูกออกแบบเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างซึ่งเป็นปัญหาที่ส่วนเป็นแบบมีโครงสร้าง และส่วนหนึ่งเป็นแบบไม่มีโครงสร้าง เช่น ความต้องการปรับปรุงคุณภาพการส่งสินค้าของพ่อค้า ปัญหาแบบมีโครงสร้างได้แก่ การเปรียบเทียบสารสนเทศในการส่งของอย่างตรงเวลาของพ่อค้า    ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสามารถได้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลของ MIS และปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างได้แก่ สถานการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถส่งสินค้าได้ เกี่ยวกับนโยบายการสั่งซื้อสินค้า ราคาสินค้า     และอื่น ๆ ปัญหาดังกล่าวต้องใช้ DSS ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ นอกจากนี้ DSS จะอยู่ในรูปแบบที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับผู้บริหารแต่ละคน เป็นระบบที่ถูกแบบขึ้นมาเพื่อช่วยผู้บริหารใน   การตัดสินใจ ภายใต้ผลสรุป และเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกแหล่งข้อมูลภายในเป็นข้อมูลที่ได้มาจากฐานข้อมูลภายในองค์กร เช่น การขาย การผลิต ฐานะทางการเงิน
ขององค์กร แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ กระแสการเงิน กระแสการลงทุนในตลาดหุ้น ภาวะเศรษฐกิจ ข้อมูลของบริษัทคู่แข่ง DSS มักจะใช้ภาษาสืบค้น (Query Language)   ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ ใช้ภาพกราฟิก เพื่อให้ผู้บริหารได้รับสารสนเทศที่ต้องการจริง ๆ ช่วยในการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยผู้บริหารสร้างตัวแบบ (Model)ของตัวแปรต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจ ซึ่งตัวแบบนี้ถ้าเปลี่ยน ตัวแปร 1 ตัวหรือมากกว่า จะทำให้ผลกระทบเปลี่ยนไปโดยตัวแบบจะรวมเอาแฟคเตอร์ (Factor) ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาเปรียบเทียบ ผลที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารทำการตัดสินใจ ตัวแบบที่สร้างขึ้นง่ายต่อการใช้ การดึงข้อมูลและการทำรายงาน ผู้บริหารสามารถสร้างสารสนเทศที่คิดว่ามีประโยชน์เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้เป็นอย่างดี    DSS เป็นระบบสารสนเทศแบบโต้ตอบได้ ช่วยในการตัดสินใจของคน ช่วยในการวิเคราะห์งานได้ดีโดยช่วยให้คนรู้จักข้อมูลและรู้จักใช้ตัวแบบ (Model) ของคอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหา ช่วยผู้บริหารในการทดสอบทางเลือกเพื่อตัดสินใจ ทำให้ทราบว่าการเลือกทางเลือกนั้นจะเกิดอะไรขึ้น ีการนำสารสนเทศที่เตรียมได้จากระดับล่างขององค์กรและสารสนเทศภายนอก มาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อให้ได้ผลใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด สามารถทำนายแนวโน้มของตลาดได้ ทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลักษณะการตัดสินในระดับนี้ จะค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าการตัดสินใจในระดับล่าง
4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS : Office information Systems) เป็นระบบการจัดการสารสนเทศในสำนักงานโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในสำนักงาน เช่น อุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ โมเด็ม (Modem) โทรศัพท์ เครื่องโทรสาร เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น เพื่อใช้เกี่ยวกับงานประมวลผลคำ งานพิมพ์ตั้งโต๊ะ งานส่งข่าวสารข้อมูลและอื่น ๆ เป็นระบบเกี่ยวกับการผลิตเอกสาร การติดต่อประสานงานโดยเกี่ยวข้องกับระบบ TPS และ MIS เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในงาน บริหารในสำนักงานเพื่อเป็นประโยชน์ในการทำงาน

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
MIS สามารถรวบรวมและสรุปข้อมูลที่มีรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อสร้างสารสนเทศให้กับผู้บริหารไม่ว่าจะเป็นการสรุปผล การวิเคราะห์ การวางแผน เป็นต้น การที่ระบบสารสนเทศจะมีความสามารถดังกล่าว จะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ
             1. เครื่องมือในการสร้าง MIS ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) และฐานข้อมูล (Database) ฮาร์ดแวร์ คือ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการประมวลซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรมคำสั่งที่ใช้ในการรวมและสรุปข้อมูลฐานข้อมูล คือ การเก็บรวมรวมข้อมูลที่จำเป็นไว้ ณ ศูนย์กลางและสามารถนำมาใช้ในงานเมื่อมีความต้องการได้ ข้อมูลเป็นหัวใจสำคัญของ MIS ข้อมูลที่ดีนอกจากมีคุณสมบัติของความเชื่อมั่นถือได้แล้วยังต้องได้รับการจัดเก็บเป็นระบบที่ดีสามารถเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็วไม่ซ้ำซ้อน อันจะทำให้กิจการดำเนินไปอย่างได้ผล
             2. วิธีการหรือขั้นตอนการปะมวลผล ได้แก่ ลำดับของการประมวลข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างสารสนเทศที่ต้องการ ลักษณะที่สำคัญของการประมวลผลข้อมูล คือ
                           2.1 ทำการประมวลผลข้อมูลทั่วไป
                           2.2 ใช้ข้อมูลที่มีรายละเอียดมาก
                           2.3 ระยะเวลาในการใช้ข้อมูลเป็นระยะสั้นส่วนมากใช้กับการปฏิบัติงานประจำวัน
                           2.4 ระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้มักเป็นระบบออนไลน์ (On-line Processing) ซึ่งเป็นวิธีการประมวลผลที่รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วทำการประมวลผลทันที โดยไม่มีการเก็บรอหรือสะสมข้อมูลไว้ก่อน
              3. มีการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเป็นฐานข้อมูล ซึ่งเป็นฐานข้อมูลนั้นเกิดจากความคิดที่ต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ เพื่อเป็นศูนย์กลางของข้อมูลในการใช้ข้อมูลร่วมกันและช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
              4. การแสดงผลลัพธ์ MIS จะจัดทำสารสนเทศซึ่งจะจำเป็นสำหรับผู้บริหารที่จะใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจหรือองค์กร ผลลัพธ์จากระบบสารสนเทศต้องสามารถเรียกใช้งาน หรือแสดงผลได้รวดเร็วและมักอยู่ในรูปของรายงานแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของตารางหรือการแสดงโดยใช้กราฟ เช่น กราฟเส้น กราฟแท่ง กราฟกลม เป็นต้น
              5. มีการจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรข้อมูล เพื่อควบคุมการทำงานระบบ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของความต้องการ MIS สำหรับองค์กร ในการดำเนินงานขององค์กร ต่าง ๆ นั้น สารสนเทศนับว่ามีบทบาทที่สำคัญต่อองค์กรมาก เพราะจะต้องแข่งขันให้ทันกับเวลา ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานต่าง ๆ จึงได้มีการพัฒนา MIS ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
           1. การบริหารงานมีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากปริมาณงานเพิ่มขึ้น องค์กรขยายใหญ่ขึ้น ปัญหาภายในและภายนอกองค์กรมีมากขึ้น การเตรียมการขยายตัวขององค์กรในอนาคต เนื่องจากการขยายตัว ขององค์กรและภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ระบบที่ออกแบบจะต้องรองรับการขยายตัวทั้งจำนวนพนักงาน และปริมาณงานขององค์กรที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งซับซ้อนในการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ
           2. ความจำเป็นในเรื่องกรอบเวลา ปัจจุบันผู้บริหารต้องสามารถปฏิบัติงานในกรอบของเวลาที่สั้นลง เพื่อตอบสนองต่อการแข่งขันต่าง ๆ และการที่สังคมมีการใช้ระบบสื่อสารข้อมูลที่ทันสมัยเพิ่มมากขึ้น เป็นผลทำให้การแข่งขันในธุรกิจมีมากขึ้นตามลำดับ
           3. การพัฒนาทางเทคนิค คือ เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจ เช่น ใช้เทคนิคทางคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ แยกแยะจัดสรรข้อมูลให้เป็นสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ ยิ่งในปัจจุบันมีความต้องการใช้ระบบสารสนเทศกันอย่างแพร่หลาย มีการนำเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารข้อมูลมาใช้ในการติดต่อทางด้านธุรกิจ เช่น การสั่งซื้อสินค้า ตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลกับต่างประเทศ เป็นต้น
           4. การตระหนักถึงคุณค่าและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยเฉพาอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง มีความสามารถมากขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์จะแพร่หลาย อย่างรวดเร็ว ระบบสื่อสารมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นจึงเป็นผลที่จะทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องใช้เทคโนโลยีในการสร้าง MIS

 สรุปการนำหลักการ  MIS  ไปใช้ในองค์การ
              แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ แสดงให้เราเห็นได้ว่าในอนาคตผู้ที่จะเป็นนักบริหารและนักวิชาชีพที่ประสบความสำเร็จจะต้องไม่เพียงแค่รู้จักคอมพิวเตอร์ แต่จะต้องสามารถใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ และรู้จักการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ   โดยผู้บริหารในอนาคตจะต้องรู้จักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับงานของตนเอง มีความคิดในการที่จะสร้างระบบสารสนเทศที่ตนเองต้องการ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในภาวะที่มีการแข่งขันสูง ทำให้การบริหารของตนเองมีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด ขณะที่นักวิชาชีพจะใช้ระบบสารสนเทศในการรวบรวม และประมวลผล และจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการค้นหาและตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอย่างถูกต้องและรวดเร็ว

 http://202.143.156.4/edplaza/index.php?option=com_content&view=article&id=54:mis&catid=29:2010-05-16-09-38-11&Itemid=53



บทความ4. คำศัพท์และความหมาย ที่เกี่ยวข้อง "การพัฒนาระบบสารสนเทศ" (20 คำศัพท์)

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ



Efficiency
ประสิทธิภาพ
Flexibility
ความยืดหยุ่น
Good Goverment
ธรรมภิบาล
Labour
กลุ่มผู้ใช้แรงงาน
Intellectual
กลุ่มผู้มีความรู้
Management Sciener
วิทยาการจัดการ
Computer Sciener
วิทยาการจัดการคอมพิวเตอร์
Operation Research
การวิจัยดำเนินการ
Psychology
จิตวิทยา
Sociology
สังคมวิทยา
Economic
เศรษฐศาสตร์
System Analyst
นักวิเคราะห์ระบบ
Database Administrator
วิศวกรสื่อสาร
Programmer
นักโปรแกรม
Operator
พนักงานปฏิบัติการ
System Programmer
นักโปรแกรมระบบ
Investment
การลงทุน
Information
สารสนเทศ
Industrial Person
บุคคลที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรม
Specialised Person
บุคคลที่มีความสามารถเฉพาะทาง
Foundation Person
บุคคลที่ทำงานเป็นรากฐาน
ICT Embedded Person
บุคคลที่มีการใช้ ICT เพื่อการทำงาน
Technical Approach
แนวทางด้านเทคนิค
Behavioral Approach
แนวทางด้านพฤติกรรม
Sociotechnical Approach
แนวทางผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและสังคม
http://www.oknation.net/blog/485420115/2007/07/09/entry-1


วงจรการวิเคราะห์ระบบงาน

System Development Life Cuycle:SDLC
วงจรการพัฒนาระบบงาน
Business Needs and Requirements
ความต้องการของธุรกิจ
System Maintenance
การบำรุงรักษาระบบงาน
System Improvement
การปรับปรุงระบบงาน
Identifying Problems
ปัญหา
Opportunity
โอกาส
Objective
เป้าหมาย
Feasibility Study
ศึกษาความเป็นไปได้
Analyzing System Needs
วิเคราะห์ความต้องการของระบบ
Developing and Documenting Software
การพัฒนาซอฟต์แวร์และการจัดทำเอกสาร
Testing and Maintaining the System
การทดสอบและบำรุงรักษาระบบ
Bug
ปัญหาในโปรแกรม
Implementing and Evaluating the System
การดำเนินงานและประเมินผล
System Analysis
ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบงาน
System Implementation
ขั้นตอนการนำระบบงานมาใช้จริง
System Support
ขั้นตอนการติดตามภายหลังการติดตั้งระบบ
Sequential Process
ขั้นตอนการพัฒนาระบบไม่ใช่แบบอนุกรม



บทความ3. ยกตัวอย่าง"การพัฒนาระบบสารสนเทศ"

วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC)

          วงจรการพัฒนาระบบ คือ กระบวนการทางความคิด ( Logical Process)ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ โดยภายในวงจรนั้นแบ่งกระบวนการพัฒนาออกเป็นระยะ ( Phase ) ได้แก่ ระยะการวางแผน ( Planning Phase) ระยะการวิเคราะห์      ( Analysis Phase) ระยะการออกแบบ ( Design Phase) และระยะการสร้างและพัฒนา ( Implementation Phase )โดยแต่ละระยะจะประกอบไปด้วยขั้นตอน ( Steps ) ต่าง ๆ ซึ่งแต่ละโครงการพัฒนาระบบจะมีการแบ่งระยะและขั้นตอนในแต่ละระยะแตกต่างกัน ทำให้ปัจจุบันมีรูปแบบของวงจรการพัฒนาระบบแตกแขนงออกไปมากในที่นี้ขอยกตัวอย่างของวงจรการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

1. SDLC ในรูปแบบ Waterfall
2. SDLC ในรูปแบบ Adapted Waterfall
3. SDLC ในรูปแบบ Evolutionary
4. SDLC ในรูปแบบ Incremental
5. SDLCในรูปแบบ Spiral


SDLC ในรูปแบบ Waterfall


          SDLC แบบ Waterfall มีหลักการเปรียบเสมือนกับน้ำตก ซึ้งไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ และไม่สามารถไหลกลับมาในทางตรงกันข้ามได้อีก การพัฒนาระบบงานด้วยหลักการนี้ เมื่อทำขั้นตอนหนึ่งแล้วจะไม่สามารถย้อนกลับมาที่ขั้นตอนก่อนหน้าได้อีก ซึ่งจะมองเห็นจุดอ่อนของ
หลักการนี้ว่า หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นที่ขั้นตอนก่อนหน้านี้แล้ว จะไม่สามารถย้อนกลับมาแก้ไขได้ ดังนั้น การพัฒนาระบบด้วยหลักการนี้ จำเป็นต้องมีการวางแผนที่ดี เพื่อให้สามารถป้องกันการผิดพลาดได้มากที่สุด ซึ่งทำได้ยากมาก ยกเว้นระบบงานนั้นมีรูปแบบการพัฒนา
ที่ดี และตายตัวอยู่แล้ว


SDLC ในรูปแบบ Adapted Waterfall


          SDLC แบบ Adapted Wayerfall เป็นรูปแบบในการพัฒนาระบบงานที่ปรับปรุงมาจากแบบ waterfall โดยในแต่ละขั้นตอนเมื่อ
ดำเนินงานอยู่ สามารถย้อนกลับมายังขั้นตอนก่อนหน้าเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือสามารถย้อนกลับข้ามขั้น โดยไม่จำเป็นต้องเป็น
ขั้นตอนที่ติดกันได้


SDLC ในรูปแบบ Evolutionary



          SDLC แบบ Evolutionary มีแนวความคิดที่เกิดมาจากทฤษฎีวิวัฒนาการ โดยจะพัฒนาระบบงานจนเสร็จสิ้นไน Version แรกก่อน
          จากนั้นจึงพิจารณา Product ( Product ในที่นี้หมายถึง ระบบ) ใน Version แรก ที่ได้พัฒนาผ่านมาถึงจ้อดีและข้อเสียแล้ว จึงเริ่มกระบวนการพัฒนาระบบงานใหม่จนได้ Product ใน Version ที่ 2 และ Version ต่อไปจนกว่าจะได้ Product ที่สมบูรณ์ที่สุดซึ่งต้องการวางแผนกำหนดจำนวน Version ตั้งแต่เริ่มโครงการพัฒนา
          Product มีข้อสังเกตว่าการพัฒนา Product ใน Version ต่าง ๆ นั้น ไม่มีความสัมพันธ์กับ Product ใน Version แรกแต่อย่างใด


SDLC ในรูปแบบ Increment



           SDLC แบบ Incremental มีลักษณะคล้ายคลึงกับแบบ Evolutionary แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ ตัว Product เนื่องจาก Product ที่เกิดขึ้นในการพัฒนาครั้งแรกนั้นจะยังไม่ไช่ Product ที่สมบูรณ์ แต่เป็น Product ส่วนแรกเท่านั้น ( จากตัว Product ทั้งหมด ) จนเมื่อมีการพัฒนาในขั้นตอนที่ 2 จึงได้ Product ในส่วนที่ 2 เพิ่มเติมเข้าไป และจะมีการเพิ่มส่วนอื่น ๆ เข้าไปอีก จนกลายเป็น Product ที่สมบูรณ์ที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถแน่ใจได้ว่า Product ที่ได้จากการรวมกันของ Product นั้นจะเป็น Product ที่สมบูรณ์ ดังนั้นในบางครั้ง SDLC ในรูปแบบ Evolutionary อาจจะมีบทบาทในการทำให้ Product ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้การพัฒนาในรูปแบบอื่น ๆ ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นจนได้ Version ใหม่ที่สมบูรณ์ในที่สุด


SDLC ในรูปแบบ Spiral



          SDLC แบบ Spiral มีลักษณะเป็นวงจรวิเคราะห์ - ออกแบบ – พัฒนา – ทดสอบ (Analysis – Design – Implementation – Testing ) และจะวนกลับมาในแนวทางเดิม เช่นนี้เรื่อยไป จนกระทั่งได้ Product ที่สมบูรณ์ การพัฒนาระบบงานด้วย SDLC ในรูปแบบนี้มีความยืดหยุ่นมากที่สุด เนื่องจากการทำงานใน 1 วงรอบนั้น ไม่จำเป็นต้องได้ Product หรือส่วนของ Product ที่แน่นอน และการทำ Analysis, Design, Implementation และ Testing ในแต่ละวงรอบนั้นจะสั้นหรือยาวเท่าใดก็ได้และถ้าหากไม่มีความจำเป็นใด ๆ บางขั้นตอนอาจจะถูกข้ามไปก็ได้เมื่อมีกระบวนการทางความคิดในการพัฒนาระบบแล้ว จะต้องมีวิธีการหรือแนวทางที่จะนำกระบวนการนั้นลงมาลงมือปฏิบัติเพื่อการพัฒนาระบบนั้นเป็นผลสำเร็จจนกลาย
เป็นระบบที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีดังกล่าวเรียกว่า “Methodology “

http://reg.ksu.ac.th/teacher/lawan/Lesson3.htm

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทความ2. ขั้นตอน"การพัฒนาระบบสารสนเทศ"

ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ มีดังนี้
 1. ขั้นการสำรวจ (Survey)
     เป็นงานขั้นแรกที่กระทำ โดยนักวิเคราะห์จะสอบถามผู้บริหาร ซึ่งเป็นผู้ใช้งาน MIS ถึงความต้อง
     การต่างๆ ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้เสนอแนะวิธีที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหา บางครั้งเรียกว่า การ
     ศึกษาความเป็นไปได้ "Feasibility Study"
 2. การวิเคราะห์โครงสร้าง (Structured Analysis)
     เป็นขั้นตอนที่นำผลการศึกษาถึงความเป็นไปได้ รวมทั้งการสอบถามเพิ่มเติมจากผู้ใช้  MIS  
     เพื่อนำมาประเมินเกี่ยวกับงบประมาณและระยะเวลาในการออกแบบและใช้งาน MIS เอกสาร
     จากการวิเคราะห์โครงสร้างมักอยู่ในรูปของกราฟ หรือ รูปภาพแสดงขั้นตอนต่างๆ
 3. การออกแบบโครงสร้าง (Structured Design)
     เป็นการพิจารณาจำนวนโปรแกรมที่จะใช้ภายในระบบ แต่ละโปรแกรมจะทำงานเป็นอิสระอยู่ใน
     ลักษณะโมดูลโปรแกรม (Program Module)
 4. การศึกษาถึงฮาร์ดแวร์ (Hardware Study)
     การศึกษาถึงฮาร์ดแวร์ที่จะใช้ในระบบ MIS เป็นงานสองขั้นตอนที่สามารถดำเนินไปพร้อมๆ กัน
 5. ขั้นตอนการจัดเตรียมอุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Implementation)
     เป็นขั้นตอนที่เปลี่ยนการทำงานจากระบบเดิมไปสู่ระบบใหม่ ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ซึ่งมี
     ผู้บริหารงานจะต้องวิเคราะห์ความเหมาะสมว่าจะเปลี่ยนแปลงโดยวิธีใด
 6. ขั้นเปลี่ยนไปใช้คอมพิวเตอร์ (Conversion)
     เมื่อผ่านขั้นตอนการจัดเตรียมอุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้ว นำข้อมูลหรือโปรแกรม
     ต่างๆ ลงเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งจะนำไปใช้งานต่อไป
 7. การศึกษาปัญหาหลังการใช้ MIS และการบำรุงรักษา (Post Implementation and 
     Maintenance)
      เป็นขั้นตอนการประเมินผลการใช้งานระบบใหม่ โดยนำไปเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการวิเคราะห์และการ
      สำรวจ ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด แล้วทำการปรับระบบหรือเปลี่ยนระบบให้เหมาะสม

บทความ1. ความหมายและความสำคัญของ "การพัฒนาระบบสารสนเทศ"

 ระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS) คือระบบแบบเฉพาะเจาะจงชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มของส่วนประกอบพื้นฐานต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกันในการเก็บ (นำเข้า), จัดการ (ประมวลผล) และเผยแพร่(แสดงผล) ข้อมูลและสารสนเทศและสนับสนุนกลไกลของผลสะท้อนกลับ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Management%20Information%20Systems/mis2.htm

ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ


1.  การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน  ระบบเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือทำงานได้ตามต้องการ มีการดำเนินงานหลายขึ้นตอน ยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำข้อมูลสรุปสำหรับการติดตามการ ปฏิบัติงานโดยรวมขององค์การ จึงจำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ขั้นตอนการ ปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น


2.  การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี  เทคโนโลยี ที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศปัจจุบันล้าสมัย ค่าช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบมีราคาสูง จึงต้องรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานที่มีอยู่เดิม


3.  การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน


-  ระบบที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มารตรฐาน ทำให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทำได้ยาก


-  ความต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ


-  ระบบปัจจุบันไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้
https://docs.google.com/document/d/1EyuREmiNa1jdSyUyt-FURUguHd7hRknUFwn4Pbou8cA/edit


วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ชิ้นงานที่ 5


ชิ้นงานที่ 4


งานชิ้นที่ 3


งานชิ้นที่ 2


รวมงาน Infographic 5 ชิ้น

 ชิ้นที่ 1
แสดงปริมาณการขายสินค้าของ E-Commerce ที่มีกำลังการพัฒนาสินค้า ประมาณปีละมากกว่า 19% ต่อปี ในปี 2015
2010 = 572.5$
2011 = 680.6$
2012 = 963.0$
2015 = 1400$

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความหมายของ Game

เกม หมายถึง การเล่นที่มีระเบียบ มีระบบ มีกฎเกณฑ์ ทุกสิ่งมีเงื่อนไข หรือข้อตกลงร่วมกันที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก ทำให้เกิดความสนุกสนาน ร่าเริง และเป็นการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เกิดคุณธรรม เช่น การให้อภัย เสียสละ อดทน อดกลั้น ความสามัคคี ความกล้าหาญ ไม่เห็นแก่ตัวและเป็นกิจกรรมที่เล่นได้ทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าการเล่นนั้นเป็นรายบุคคล หรือเป็นกลุ่ม
ืั
ที่มา http://wichianthonthong.tripod.com/dataall/data3.htm



ที่มา https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87+Game&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ei=OmoDUpKjNIyTiQe564CgCw&ved=0CAcQ_AUoAQ&biw=1024&bih=677

ความหมายของ E-commerce

Electronic Commerce
หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริหาร การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า (show room) คลังสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น

ที่มา http://narisarann.blogspot.com/2006/12/e-commerce.html

ที่มา https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87+e-commerce&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ei=QWkDUpqZB4uaiAej4IDwCg&sqi=2&ved=0CAcQ_AUoAQ&biw=1024&bih=677#facrc=_&imgdii=_&imgrc=KV-GB-D6djE4kM%3A%3BiUzx114UaM5PQM%3Bhttp%253A%252F%252F2.bp.blogspot.com%252F_b34inutBcQs%252FS2exAJB8RJI%252FAAAAAAAAAK4%252FOTOQUNO57xU%252Fs320%252FE-Commerce.jpg%3Bhttp%253A%252F%252Fbosasithon.blogspot.com%252F2010%252F01%252Fe-commerce.html%3B247%3B184

ความหมายของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
ที่มา http://tc.mengrai.ac.th/paisan/e-learning/internet/page21.htm

ที่มา https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ei=cWgDUsC9FuW4iQfo4oCYDA&ved=0CAcQ_AUoAQ&biw=1024&bih=677#facrc=_&imgdii=_&imgrc=7tQ-yvJmqzyIRM%3A%3Bi6Xj06aDMsz9OM%3Bhttp%253A%252F%252Flearners.in.th%252Ffile%252Fyokocherry%252F333333333333333333333333333333333333333.png%3Bhttp%253A%252F%252Fwww.learners.in.th%252Fblogs%252Fposts%252F408604%3B285%3B320

ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านธุรกิจ

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารนิเทศมีดังต่อไปนี้ คือ

            1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์  คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

            2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน

            3. ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก

            4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร  ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
UploadImage
            5. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ

            6. สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น

            7. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า

            8. ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ
ที่มา http://blog.eduzones.com/moobo/78858